คู่มือเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยกับความไวต่อแสง

Essential Oil & Photosensitivity

น้ำมันหอมระเหยในตระกูลซีตรัส ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยส้ม น้ำมันหอมระเหยเกรฟฟรุต น้ำมันหอมระเหยเลมอน น้ำมันหอมระเหยมะนาว น้ำมันหอมระเหยเบอร์กาม็อท มีน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น น้ำมันมะกรูด น้ำมันมะนาว มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสง (photosensitive) ดังนั้นผู้ใช้ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด ประมาณ 4 ชั่วโมง ภายหลังจากที่ใช้น้ำมันชนิดนั้นๆทาบนผิวหนัง โดยปกติแล้วผู้จำหน่ายน้ำมันหอมระเหยที่ดีจะต้องระบุคำว่า “Photosensitivity” บนฉลากสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภครับทราบถึงความปลอดภัยและข้อบ่งใช้เฉพาะ ผู้บริโภคจึงควรสังเกตคำว่า “Photosensitivity”บนฉลากน้ำมันหอมระเหยตรกูลซีตรัส เพื่อการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างถูกต้องปลอดภัย และได้รับประโยชน์สูงสุด

แล้วจะทำอย่างไรหากจำเป็น ต้องใช้น้ำมันหอมระเหยที่ไวต่อแสง (Photosensitivity)?

หากต้องการผสมน้ำมันหอมระเหยชนิดไวต่อแสงกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทางเราขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการผสมในครีมบำรุงผิวหน้า ผิวกาย แต่สามารถใช้ผสมในแชมพูหรือเจลอาบน้ำได้ เพราะสามารถล้างออกได้ทันที

Essential Oil & Photosensitivity

หากต้องการใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดไวต่อแสงและออกไปสัมผัสแสงแดดจริงๆ เราขอแนะนำให้คุณปกปิดร่างกายส่วนนั้นด้วยเสื้อผ้าหนาๆ หรือหากทาน้ำมันหอมระเหยชนิดไวต่อแสงบริเวณขมับ ให้สวมหมวกปกปิดบริเวณขมับไม่ให้สัมผัสแสงแดดโดยตรง

สำหรับน้ำมันหอมระเหยของ Sabai arom ได้มีการเจือจางในสัดส่วนที่พอดีต่อการใช้งานจึงขอแนะนำน้ำมันหอมระเหย Bergamot FCF ซึ่งกลั่นโดยใช้ไอน้ำและปราศจากสาร Furocoumarin ที่เป็นตัวเหนี่ยวนำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสง มีลักษณะใสและกลิ่นหอมสดชื่นแบบเบอร์กาม็อทครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆ สามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยและความไวต่อแสงเพื่อให้เกิดความมั่นใจและไขข้อสงสัยต่างๆ ในเรื่องนี้ได้